ความแข็งแรงของวัสดุ
วิชาความแข็งแรงของวัสดุ
กล่าวได้ว่าเป็นวิชาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำภายนอกที่มากระทำกับวัสดุ
ลักษณะที่ทำการศึกษามีหลายรูปแบบเช่น โลหะในรูปแบบต่าง ๆ สะพาน ปั้นจั่น
ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น โดยการวิเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างของวัสดุสามารถรับน้ำหนักหรือแรงที่มากระทำได้หรือไม่
และ
วัตถุเปลี่ยนรูปไปจากเดิมเพียงใดเมื่อรับแรงหรือน้ำหนักมากระทำกับวัตถุความเค้น (Stress)
คือ แรงที่กระทำตั้งฉากกับพื้นที่ภาคตัดของวัตถุ
ชนิดของแรง
แรงกระทำกับวัตถุสามารถแบ่งได้ 3
แบบ คือ
1. แรงที่อยู่กับที่ (Static Load)
เป็นแรงที่กระทำอยู่บนวัตถุโดยแรงมีขนาดที่คงที่หรือมีการเปลี่ยนแปลงแรงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
2. แรงกระทำต่อเนื่อง (Repeated Load)
ลักษณะแรงที่กระทำกับวัสดุหรือโครงสร้างแบบซ้ำไปซ้ำมาเป็นจังหวะการเคลื่อนที่ เช่น
การหมุนของเพลาลูกเบี้ยว การเคลื่อนที่ของก้านสูบ เป็นต้น
3. แรงกระแทก (Impact Load)
เป็นลักษณะของแรงที่กระทำกับวัตถุโดยที่เกิดขึ้นอย่างทันที่ทันใด เช่น
แรงกระแทกจากการชนของวัตถุสองชนิด น้ำหนักตกกระทบโครงสร้าง เป็นต้น
1.ความเค้น (Stress)
ความเค้น (Stress) เป็นแรงภายนอกที่กระทำกับพื้นที่หน้าตัดวัตถุ
หรือกล่าวได้ว่าคือแรงภายนอกต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่กระทำกับวัตถุ
เมื่อพิจารณาความเค้นที่เกิดขึ้นในวัตถุโดยพิจารณาพื้นที่หน้าตัด
ภายในแรงดึง F
ถ้าแรงที่ทำการดึงวัตถุมีแรงดึงวัตถุน้อยทำให้วัตถุยืดออกเพียงเล็กน้อยและไม่ยืดออกอีก
แต่เมื่อใดแรงต้านทานภายในวัตถุมีค่าเท่ากับแรงภายนอกที่กระทำกับวัตถุหรือแรงดึง F
โดยแรงต้านทานภายในมีตลอดพื้นที่หน้าตัดของวัตถุ
ดังนั้นวัตถุอยู่ในสภาวะสมดุลโดยสามารถเขียนเป็นสมการได้ว่า
2. ชนิดของความเค้น
ความเค้นที่เกิดขึ้นทำการแบ่งได้เป็น
3 ลักษณะ คือ
2.1
ความเค้นดึง (Tensile Stress)
2.2
ความเค้นอึด (Compressive Stress)
2.3
ความเค้นเฉือน (Shear Stress)
2.1
ความเค้นดึง (Tensile
Stress)
วัตถุเกิดความเค้นดึง
เมื่อมีแรงกระทำให้วัตถุยืดออกโดยแรงที่กระทำกับวัตถุมีทิศทางตั้งฉากกับวัตถุดังรูป
แบบฝึกหัด
1.เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด
10 มิลลิเมตร นำมาใช้แขวนวัตถุมีน้ำหนักเท่ากับ 1,500 นิวตัน
จงคำนวณหาความเค้นดึงที่เกิดขึ้น
2.จงหาแรงดึงท่อนโลหะกลมซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
50 มิลลิเมตร โดยความเค้นดึงห้ามเกิน 1,000 นิวตัน/ตารางมิลลิเมตร
3.วัตถุรับความเค้นดึง
350 นิวตัน/ตารางมิลลิเมตร มีแรงดึงกระทำเท่ากับ 400 นิวตัน
จงคำนวณหาพื้นที่ที่เกิดความเค้นดึงนี้
4.ท่อเหล็กกลวง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 160
มิลลิเมตร รับแรงดึง 800 กิโลนิวตัน จงคำนวณหาความหนาของท่อเหล็ก
ถ้าความเค้นดึงห้ามเกิน 50 นิวตัน/ตารางมิลลิเมตร
https://www.youtube.com/watch?v=Vsxt7yN2qsM&list=PL36D3D3495AC22E3E
ดูตอนที่ 1 มี 6 วีดีโอเสริม เรื่องความเค้น
ดูตอนที่ 1 มี 6 วีดีโอเสริม เรื่องความเค้น